GPX Racing เติมเต็มความต้องการวัยมันส์ เผยโฉมรถใหม่ 4 รุ่น เป็นโมเดลใหม่กิ๊ก 2 รุ่น เป็นรถ Minor change 2 รุ่น นับเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ให้กับตัวเอง แต่จะเลิศเลอเพอร์เฟคขนาดไหน เข้าไปติดตามกันได้ใน นิตยสารไรดิ้ง ฉบับที่ 255 เดือนธันวาคม 2559
Grand Filano Trip No.253
สื่อมวลชน 6 ฉบับ บิดไปรับบรรยากาศทะเลหัวหินด้วย Yamaha Grand Filano ใหม่ พร้อมเปิดอกถึงความประทับใจจากนักทดสอบของนิตยสารชั้นแนวหน้า
2017 KTM 450SX-F พัฒนาต่อยอดหลังปรับเปลี่ยน ครั้งใหญ่
หลังจากที่ประเดิมด้วยการปรับครั้งใหญ่ของรถ KTM ตระกูล SX ในปีที่แล้วด้วยการเปิดตัวฟอร์ค WP AER48 พร้อมด้วยแชสซีใหม่ และ เครื่องยนต์ใหม่ โดยเฉพาะเรือธงอย่าง KTM450 SX-F แต่ก็หาได้หยุดยั้งการพัฒนาเพียงแค่นั้น โดยในโมเดล 2017 ของรถตัวท๊อปสุดในตระกูล SX นี้ก็ยังคงได้รับการ พัฒนาเพิ่มเติม เพื่อสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น กับองค์ประกอบสำคัญของระบบ traction control ที่ได้ปรับสวิตซ์ที่แฮนเดิ้ลบาร์เป็น new multifunctional handlebar map switch ที่เป็นปุ่มควบคุมหรือสั่งการทำงานระบบการเลือก traction control กับ launch control และ การเลือก map ที่เหมาะสมกับสภาพการขับขี่ ถึงขนาดที่ทางแฟคทอรี่ ออกมาบอกว่า นี่คือ KTM 450SX-F โมเดลนี้ “better than ever” หรือ แปลต่างคือ ดีกว่าเท่าที่เคยมีมา
ด้วยองค์ประกอบชั้นยอดของ KTM ไม่ว่าเฟรมที่ออกแบบด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง น้ำหนักเบา อย่าง chrome-moly steel frame , ชุดเบรกชั้นยอดอย่าง Brembo , ดุมล้อน้ำหนักเบาแบบ CNC พร้อมวงล้อสุดแกร่งจาก EXCEL พร้อมติดตั้งยาง Dunlop Geomax MX35 รวมทั้งระบบกรองอากาศชั้นยอด และทุกส่วนประกอบของตัวรถที่ได้รับกัน “ปรับ” เพื่อเสริมสมรรถนะสู่ความเป็นยอดของรถMXer ในพิกัด 450F โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับระบบ traction control ให้มีประสิทธิภายยิ่งขึ้น
ด้วยเครื่องยนต์แบบ SOHC ที่ชิ้นส่วนภายในออกแบบมาให้มีความแข็งแกร่ง ทนทาน และน้ำหนักเบา พร้อมขุมพลังที่จะขับออกมาในระดับ 62 แรงม้า ถูกออกแบบมาภายใต้คอนเซ็ปท์ READY TO RACE ของ KTM ที่มีรอบการทำงานขอเครื่องยนต์สูงถึง 11,500 รอบต่อนาที ซึ่งควบคุมระบบการทำงานของเครื่องยนต์ด้วย Keihin Engine Management System พร้อมด้วยระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิกส์ ที่ใช้เรือนลิ้นเร่งขนาด 44 ม.ม. ซึ่งในชุดควบคุม ECU ได้ออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด เน้นน้ำหนักเบาแต่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำงานสั่งการในการจัดการ ระบบ traction control และ launch control ซึ่งในการเลือกค่า map ที่เหมาะสมกับการขับขี่นี้สามารถเปลี่ยนได้จากปุ่มที่แฮนเดิ้ลบาร์ หรือ multi functional handlebar map switch ที่จะมีหน้าที่สามอย่าง คือ สั่งการทำงานในส่วนของ traction control , สั่งการทำงานของ lunch control และเลือกกราฟ หรือ map ซึ่งกราฟ power curve ที่เซ็ทมานั้นจะเลือกได้เป็น สแตนดาร์ด หรือ แอ็ดว้านซ์ ซึ่งข้อมูลสเปคพื้นฐานของตัวรถมีดังนี้
ข้อมูลพื้นฐานของตัวรถ
เครื่องยนต์ สูบเดียว สี่จังหวะ
ปริมาตรความจุเครื่องยนต์ 449.9 ซี.ซี.
กระบอกสูบ 95 ม.ม.
ช่วงชัก 63.4 ม.ม.
การติดเครื่องยนต์ Electric starter
ระบบส่งกำลัง 5 สปีด
คลัทช์ แบบเปียก
ระบบควบคุม Keihin EMS
เฟรม 25CrMo4 steel central-tube frame
กันสะเทือนหน้า WP-USD, AER 48
กันสะเทือนหลัง WP shock absorber with linkage
ระยะยุบตัวกันสะเทือนหน้า 310 ม.ม.
ระยะยุบตัวกันสะเทือนหลัง 300 ม.ม.
ดิสก์หน้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 260 ม.ม.
ดิสก์หลัง เส้นผ่านศุนย์กลาง 220 ม.ม.
ระยะฐานล้อ 1485 ± 10 ม.ม.
ความสูงจากพื้น 370 ม.ม.
ความสูงเบาะนั่ง 960 ม.ม.
ความจุถังเชื้อเพลิง 7 ลิตร
น้ำหนักรถ 100.6 ก.ก.
เอ.พี. ฮอนด้า กระหึ่ม!! ตลาดรถจักรยานยนต์เมืองไทยส่งท้ายปี 2559 เปิดตัวรถทางฝุ่น “Honda CRF250 Rally” แรลลี่ไบค์รุ่นใหม่ล่าสุดของโลก ชูจุดเด่นโฉบเฉี่ยวดุดันทุกมุมมอง
เครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันหัวฉีด PGM-FI 4 จังหวะ/แบบดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ ระบายความร้อนด้วยน้ำ
ปริมาตรกระบอกสูบ (ซีซี) 249.6
ความกว้างกระบอกสูบ (มม.) x ช่วงชัก (มม.) 76 x 55
อัตราส่วนแรงอัด 10.7:1
ระบบคลัทช์ คลัทช์เปียกแบบหลายแผ่นซ้อนกัน
ระบบส่งกำลัง เกียร์ 6 ระดับ
ระบบจุดระเบิด ทรานซิสเตอร์เต็มรูปแบบ Digital
ระบบการติดเครื่องยนต์ สตาร์ทมือ
ขนาด กว้าง x ยาว x สูง (มม.) 900 x 2,214 x 1,427
ระยะห่างช่วงล้อ [มม.] 1,457
ระยะห่างจากพื้น [มม.] 270
ความสูงของเบาะ (มม.] 895
มุมคาสเตอร์/ระยะเทรล [o’/มม.] 28° 2′ / 114 มม.
ความจุน้ำมันเชื้อเพลิง [ลิตร] 10.1
เฟรม ทวินทูบสตีล
ระบบกันสะเทือน [หน้า] เทเลสโคปิค หัวกลับ 43 มม.
ระบบกันสะเทือน [หลัง] โปรลิงค์
น้ำหนักสุทธิ (กก.) 155
ระบบห้ามล้อ [หน้า] ดิสก์เบรก ลูกสูบคู่
ระบบห้ามล้อ [หลัง] ดิสก์เบรก
ล้อ ล้อซี่ลวด
ขนาดยาง [หน้า] 3.00 – 21 51P
ขนาดยาง [หลัง] 120/80-18 M/C 62P
New Honda CBR650F & CB650F 2017
ต้องบอกว่าช่วงปลายปีจะเป็นช่วงของการเปิดตัวรถใหม่อย่างที่ไบค์เกอร์หลายๆ ท่าน ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้งานมหกรรมรถจักยานยนต์ระดับโลก EICMA 2016 ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เพิ่งจะเปิดงานไปได้ไม่กี่วันนี้เอง แน่นอนว่าค่ายรถจักรยานยนต์เกือบทั่วโลกจะเข้าร่วมในงานนี้เพื่อเปิดตัวและโชว์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากมาย
สำหรับรถที่จะรีวิวในวันนี้ก็คือ New Honda CBR650F & CB650F 2017 ได้เวลาสำหรับการปรับเปลี่ยนของค่ายปีกนกบ้างแล้ว ในโมเดลยอดนิยมเดอะมิดเดิ้ลไบค์ขนาดกลาง ซึ่งต้องบอกว่าเพิ่งจะปรับเปลี่ยนสีใหม่ไปได้ไม่นานนี้เอง ล่าสุดจัดการอัพเกรดใหม่อีกครั้งแต่ครั้งนี้ล้วงลึกเข้าถึงระบบเครื่องยนต์เพิ่มสมรรถนะการขับขี่ที่ดีขึ้น รวมไปถึงแรงม้าที่เพิ่มขึ้น โดยเผยโฉมให้ได้ชมกันในงาน EICMA พร้อมเดินหน้าลุยตลาดในปี 2017 ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมกันอย่างมาก แต่การอัพเกรดครั้งนี้ได้ไม่เน้นที่รูปร่างหรือโครงสร้างใหม่ โดยจะเน้นพื้นเดิมเป็นหลักแต่จะเพิ่มในเรื่องของสมรรถนะมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองการขับขี่ที่เร้าใจ ไฟหน้านั้นได้เปลี่ยนมาเป็นแบบ LED เบาะนั่งตอนเดียว โช้คอัพหน้าเทเลสโคปิค Showa แบบ Dual Bending Valve ขนาด 41 มม. ช่วยในการซับแรงกระแทกหรือสั่นได้ดีกว่าเดิม โช้คอัพลังเดี่ยว ดิสก์เบรกหน้าคู่ ใช้คาลิเปอร์ NISSIN ก็ปรับอัพเกรดใหม่เช่นกัน มาพร้อมกับระบบเบรก ABS วงล้อแม็กอลูมินัม 17 นิ้ว รัดด้วยยางเรเดียลจุ๊บเลสทั้งสองโมเดลนั้นใช้พื้นฐานเครื่องยนต์ตัวเดียวกัน ความจุ 649cc แบบ 4 สูบเรียง 4 จังหวะ DOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ อันนี้ก็คงจะรู้ๆ กันดีอยู่แล้ว แต่เมื่ออัพเกรดใหม่แล้วจะแสดงผลให้เห็นแรงม้าที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 4 ตัว เป็น 90 แรงม้า ที่ 11,000 รอบ/นาที ซึ่งทางค่ายฮอนด้าเคลมมาว่าแรงม้าจะส่งผลตั้งแต่ 5,000 รอบ แรงบิดก็เพิ่มขึ้นให้มีความจัดจ้านไม่เบา ซึ่งจะสัมพันธ์กับท่อไอเสียของใหม่ที่เซ็ทระบบการระบายใหม่ให้โล่งขึ้น อัตราการทดเกียร์ปรับให้มีระยะชิดมากขึ้นกว่าเดิมทำให้ออกตัวในช่วงต้นในรอบเดินเบานั้นดีขึ้น ซึ่งมันจะทำให้เสียงของเครื่องยนต์มีความทุ้มดุดันมากว่าเดิม
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจของฮอนด้าที่อัพเกรดให้กับ CBR650F & CB650F มีสมรรถนะการขับขี่ที่ดีและทุกอย่างถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม และแน่นอนว่าเครื่องยนต์ที่อัพเกรดขึ้นนั้นผ่านมาตรฐาน euro4 เป็นที่เรียบร้อย “นั่นก็คือจุดที่ทำให้ต้องอัพเกรดใหม่” โดยรวมๆ แล้วเครื่องยนต์ทีให้แรงม้าและกำลังบิดที่เพิ่มขึ้น ระบบช่วงล่างได้ถูกปรับปรุงใหม่ น่าจะตอบสนองการขับขี่ที่สนุกขึ้นไม่น้อย แต่สำหรับราคาคิดว่าน่าเพิ่มจากเดิมเล็กน้อยไม่น่าเกิน 15,000 บาท คงได้เห็นในปลายปีนี้แน่นอน
New Kawasaki Ninja 650, Ninja 1000 และ Ninja ZX-10RR
บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำแห่งเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ สร้างปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ด้วยการเปิดตัว “New Kawasaki Ninja 650, Ninja 1000 และ Ninja ZX-10RR” กับดีไซน์โฉมใหม่ให้ความเป็นซูเปอร์สปอร์ต สมรรถนะเป็นเยี่ยมความคล่องตัวเป็นเลิศตามแบบฉบับรถซูเปอร์สปอร์ตตระกูล Ninja รวมไปถึง H2 สีใหม่ และ Ninja300 ลายวินเทอร์เทส ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Don’t Blink the Eyes” สะกดทุกสายตาบนท้องถนน กับนวัตกรรมด้านความเร็วแห่งอนาคต ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย โฉบเฉี่ยว พร้อมกับสีสันที่ร่วมสร้างแฟชั่นสำหรับผู้ชื่นชอบการขับขี่อย่างมีสไตล์ เทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ที่ตอบโจทย์ในทุกสมรรถนะด้านความเร็ว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของคาวาซากิในตลาดโลก
Ninja 650 ใหม่ล่าสุด
สีเขียว KRT = 306,500 บาท
สีดำ = 299,500 บาท
Ninja 1000 = 664,000 บาท
Ninja ZX-10RR = 785,000 บาท
2016 YZ250F แรงสะใจสไตล์ซูเปอร์ครอส
หน้าตายังคงเดิมเพิ่มความโตให้ดิสก์เบรกหน้าโอเวอร์ไซส์และการปรับกำลังเครื่องยนต์ที่แก้ไขให้ตอบสนองฉับไวกว่าเดิมปี 2015 เป็นอีกครั้งที่ชื่อเสียงของ YZF กลับมาหอมหวลอีกครั้งจากผลงานการแข่งขันในระดับโลกทั้งรุ่น 250 (MX2) และ 450 (MXGP) การคว้าตำแหน่งแชมป์มาครองต่อเนื่องของฝั่งอเมริกากับเกมโมโตครอส 2 สมัยในรุ่น 250F และในศึกชิงแชมป์โลกก็ยังคว้าแชมป์ในรุ่น MXGP มาได้อีก
เอกลักษณ์และจุดเด่น
เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ 1 สูบ 4 วาล์วไททาเนียมแบบที่มีท่อไอเสียล้อมรอบเสื้อสูบพร้อมระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดแบบนี้มีใช้ตั้งแต่ปี 2014 สำหรับปี 2016 ได้มีการปรับปรุงสมดุลของแคร้งเครื่องยนต์ให้ดีต่อประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวของลูกสูบ การวางแนวท่อไอเสียรอบเสื้อสูบมีเหตุผลในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากความยาวของคอท่อโดยที่ไม่ทำให้ปลายท่อไอเสียยื่นยาวออกจากตัวรถมากนัก ทำให้น้ำหนักอยู่ในลักษณะรวมศูนย์ ส่งผลดีในเรื่องของการควบคุมรถ โครงสร้างหลักหรือเฟรมเป็นอลูมินัมดีไซน์เฉพาะที่เรียกว่า Bilateral Beam ที่เป็นเอกลักษณ์ น้ำหนักเบา และมันเปลี่ยนมิติการขับขี่บนรถ YZ250F นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา การจัดตำแหน่งของกรองอากาศมาอยู่ตอนหน้าของเบาะแทนที่ถังน้ำมันก็เช่นกัน นอกจากจะทำให้กรองอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกทำให้สกปรกง่าย และไอดีถูกส่งเข้าห้องเผาไหม้ได้ตรงแล้ว ถังน้ำมันที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของตัวรถก็ยังส่งผลดีในเรื่องของน้ำหนักที่รวมศูนย์อีกด้วย
มีอะไรใหม่ในปี 2016
ที่เห็นเป็นรูปธรรมที่สุดก็คงจะเป็นดิสก์เบรกหน้าที่ถูกเพิ่มขนาดของจานเบรกให้เป็น 270 มม. เทียบเท่ากับ KX250F ที่ขยายไปก่อนแล้วในปี 2015 นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพและชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ลูกสูบอัดขึ้นรูปหัวเรียบชายสั้นน้ำหนักเบาแบบ 2 ร่องแหวน มีการเคลือบผิวคล้ายคาร์บอน มีการปรับปรุงช่องทางฉีดน้ำมันใต้ลูกสูบเพื่อช่วยลดความร้อนและรักษากำลังงานของเครื่องยนต์ให้คงที่ ปรับปรุงคลัทช์และเกียร์ให้สัมพันธ์กันมากขึ้นและง่ายดายแม่นยำในการสั่งการ เพลาข้อเหวี่ยงปรับปรุงในเรื่องของสมดุลน้ำหนักใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของการรักษาไว้ซึ่งกำลังในการลดแรงสั่นสะเทือน ปิดท้ายด้วยการปรับโปรแกรมการสั่งงานของ ECU ให้เหมาะสมกับระบบกลไกชุดนี้ โดยที่เจ้าของรถยังคงปรับเปลี่ยนได้จากเครื่องมือ GYTR Power Tuner เหมือนเดิม ในระบบกันสะเทือนแจ้งมาว่ามีการเซ็ตให้ลดอัตราการเกิดอาการลื่นไถลของล้อหน้าให้ดีกว่าเดิม






ขอบคุณการสนับสนุนคอลัมน์โดยยางควิกและวงล้อโยโก ชุดนักทดสอบจากสคอยโก้และเมก้าเดิร์ท สนามสหเครนซูเปอร์ครอสแทร็คและเครื่องดื่ม GSD ติดตามตอนต่อไปกับการทดสอบอย่างต่อเนื่องของ 2016 MX Sample ที่เดียวของไทยโดยไรดิ้งแมกกาซีน
ข้อมูลเทคนิค 2016 YZ250F
เครื่องยนต์ ระบายความร้อนด้วยน้ำ,
4 จังหวะสูบเดียว DOHC 4 วาล์ว ไททาเนียม
ปริมาตรกระบอกสูบ 250 ซีซี
ลูกสูบ x ระยะชัก 77.0 x 53.6 มม.
ระบบเชื้อเพลิง YFI เรือนลิ้นเร่งเคฮิน 44 มม.
อัตราส่วนการอัด 13.5:1
ระบบจุดระเบิด TCI
ระบบส่งกำลัง เกียร์ 5 สปีด คลัทช์แบบหลายแผ่น
ระบบขับเคลื่อน โซ่ทอง 520
โช้คหน้า หัวกลับ KYB ปรับได้เต็มรูปแบบ ช่วงยุบ 12.2 นิ้ว
โช้คหลัง โช้คเดี่ยว KYB ปรับได้เต็มรูปแบบ ช่วงยุบ 12.4 นิ้ว
ยางหน้า 80/100-21
ยางหลัง 100/90-19
เบรกหน้า ดิสก์เบรกเดี่ยว 270 มม.
เบรกหลัง ดิสก์เบรกเดี่ยว 245 มม.
ยาว 82.5 นิ้ว
กว้าง 32.5 นิ้ว
สูง 50.4 นิ้ว
ฐานล้อ 51.8 นิ้ว
สูงจากพื้น สูงถึงเบาะ 38.0 นิ้ว
น้ำหนัก 231 ปอนด์ (103 กก.)
ถังน้ำมันจุ 9.5 ลิตร
เจ้าของรถ : สุทธิชัย เทือกแก้ว
“ก่อนที่จะซื้อก็ศึกษามาทุกยี่ห้อครับ YZ250F ปี 2016 คิดว่ามันตอบโจทย์ได้ดีกับตัวเราครับ จุดเด่นของรถคันนี้คือกำลังเครื่องที่มีรอบต้นดีขึ้น แล้วก็ช่วงล่างเดิมๆ ที่ให้มาสูงครับแล้วก็ช่วยในเรื่องการซับที่ดีครับ ก่อนหน้านี้ผมขี่ YZ250F ปี 2013 อยู่ครับ ความแตกต่างก็เรื่องน้ำหนัก โช้ค กำลังเครื่องยนต์ ต่างกันเยอะเลยครับ แต่เป็นความต่างที่ชอบทุกอย่างครับ รวมๆ ผมว่ามันเหมาะกับคนที่พอขี่เป็นแล้วนะครับ มันจะไม่เหมาะเท่าไรน่าจะคุมยากไปสักนิดสำหรับมือใหม่ครับ”
ความเห็นนักทดสอบ :
เขมรัฐ สุธรรมวาท
“เป็นรถที่มีมิติตอนหน้าคือตรงถังน้ำมัน (ที่จริงเป็นกรองอากาศ) ใหญ่โตกว่ารุ่นอื่นอย่างชัดเจน นอกนั้นเล็ก สั้น แต่สูง ตำแหน่งควบคุมของ YZ250F นี่ผมว่ายืนขี่ง่ายกว่านั่ง อาจจะเพราะผมยังไม่คุ้นเคยกับปีกหม้อน้ำที่กว้างก็เป็นได้ทำให้เสียบตัวนั่งแล้วยังเคอะเขิน แต่กับการยืนขี่กลับควบคุมรถได้ดีจนแทบไม่อยากจะนั่งแม้กระทั่งตอนเลี้ยวที่รถมีการทรงตัวที่ดีพร้อมกับการเลี้ยวที่ฉับไว ความสูงของระดับเบาะกับตำแหน่งพักเท้าที่ไม่ไกลกันมาก บวกกับแฮนด์ที่เจ้าของรถกดต่ำลงกว่าปกติยิ่งทำให้การขับขี่นี่แทบไม่ต้องขยับตัวมากมายเลยครับ เครื่องยนต์สตาร์ทง่ายนะครับ เสียงเครื่องยนต์ในรอบเดินเบาทุ้มนุ่ม แต่จะแผดแตกในรอบปลายๆ เหมือนกัน กำลังเครื่องยนต์ของปี 2016 นี่เหมาะมากกับซูเปอร์ครอส รอบต้นมาไวและหนักหน่วงแต่ก็ตันไวเหมือนกันตามธรรมชาติคือเกียร์สั้นไปนิดกับสเตอร์หลัง 50 ฟันนะครับ การชิพเกียร์แม่นยำดี กันสะเทือนยังไม่มีลูกเล่นของระบบอากาศเหมือนค่ายอื่นแต่ก็ปรับใหม่ทุกปี โช้คหน้าจัดว่าแข็งครับสำหรับการรูดและวิ่งพื้นตัวรถที่สูงบวกการซับแรงน้อยทำให้หน้ารถสะบัดง่ายในช่วงบั๊มของสนาม โช้คหลังมาตรฐานเป็นงานของ KYB ดิสก์เบรกหน้าเพิ่มไซส์ให้เป็น 270 มม. บอกตรงๆ ว่ายังไม่ได้ลองแบบจั๋งๆ เพราะรถมันเลี้ยวง่ายจนแทบไม่ต้องใช้เบรกหนัก แต่การคุมน้ำหนักเบรกหน้าก็ไม่หนักแรงครับ แค่คลอๆ ออกแรงเบาๆ ก็รู้สึกถึงการทำงานของมันแล้ว”
ยามาฮ่าดึง รอสซี่ แชมป์โลกร่วมเปิดตัว ยามาฮ่า แอร็อกซ์ 155 ออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ตรุ่นใหม่ครั้งแรกของโลกที่สนามเซปัง
ยามาฮ่าดึง รอสซี่ แชมป์โลกร่วมเปิดตัว ยามาฮ่า แอร็อกซ์ 155 ออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ตรุ่นใหม่ครั้งแรกของโลกที่สนามเซปัง
มร.ชิเงโอะ ฮายาคาวะประธานกรรมการบริหาร และนายประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากยามาฮ่าทั่วโลก ร่วมทำการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ล่าสุด ยามาฮ่า แอร็อกซ์ 155 ออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ตครั้งแรกของโลก ณ สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย โดยมีนักแข่งชื่อดังของทีม Movistar Yamaha MotoGP อย่าง วาเลนติโน่ รอสซี่ แชมป์โลก 9 สมัย ร่วมทำการเปิดตัวในครั้งนี้ โดยการเปิดตัวรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่า แอร็อกซ์ 155 ในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลกรวมถึงคณะสื่อมวลชนไทย เข้าร่วมงานเปิดตัวอย่างคับคั่ง สำหรับรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่า แอร็อกซ์ 155 เป็นรถออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ตรุ่นใหม่ ที่ได้รับการออกแบบรูปลักษณ์มาแบบโฉบเฉี่ยว สปอร์ตเร้าใจ โดยมาพร้อมกับเครื่องยนต์ 155 ซีซี. เทคโนโลยี BLUE CORE ซึ่งเป็นเจเนอเรชันใหม่ของเครื่องยนต์ยามาฮ่า ที่พร้อมระบบวาล์วแปรผัน (VVA) และฟีเจอร์สุดล้ำสมัยอย่างครบครัน
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ (YMC) จัดงาน The Pan ASEAN Media launch เพื่อแถลงข่าวเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ “YAMAHA AEROX/NVX” ออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ต ณ สนาม เซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล โดยได้รับเกียรติจาก CEO จาก ยามาฮ่ามอเตอร์ รวมทั้ง CEO จาก ประเทศไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และ เวียดนาม พร้อมผู้บริหารระดับสูง และสื่อมวลชนจากทั่วอาเซียนจำนวนมากเข้าร่วมในงานครั้งนี้
สำหรับ GDR155 ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นรถสกู๊ตเตอร์ระดับเรือธงในภาคพื้นอาเซียน ซึ่งได้รับการผสมผสานระหว่างรูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยวเข้ากับสมรรถนะการขับขี่สไตล์สปอร์ตได้อย่างลงตัว ภายใต้รหัสความเร้าใจ NVX ที่ใช้เรียกในประเทศเวียดนาม โดยในประเทศไทยจะใช้รหัสเรียกว่า AEROX โดยพร้อมวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2016 เป็นต้นไป ส่วนในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ ในอาเซียนจะเริ่มวางจำหน่ายช่วงไตรมาสแรกของปี 2017 เป็นต้นไป
GDR155 ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “ASEAN Best Sporty Scooter” ที่วางกลุ่มเป้าหมายผู้ขับขี่หลักเป็นผู้ชายในช่วงอายุ 25-30 ปี ที่ชื่นชอบรถจักรยานยนต์สไตล์สปอร์ต ระดับไฮคลาส โดยมาพร้อมกับเทคโนโลยีเครื่องยนต์เจเนอเรชันยุคใหม่ของยามาฮ่าอย่าง BLUE CORE ที่ได้รับการติดตั้ง Smart Motor Generator ซึ่งทาง ยามาฮ่ามอเตอร์ (YMC) ได้ทำการพัฒนาขึ้นใหม่ พร้อมติดตั้งระบบที่หยุดการทำงานเครื่องยนต์และรีสตาร์ทใหม่ได้อย่างนุ่มนวล และเงียบกว่า
โดยฟีเจอร์เด่นของออโตเมติกสายพันธุ์สปอร์ต รุ่นใหม่นี้มีดังนี้
– 155 ซีซี. เครื่องยนต์ BLUE CORE พร้อมระบบวาล์วแปรผัน VVA* ที่ให้อัตราเร่งที่ดียิ่งขึ้น และประหยัดมากขึ้น
– Smart Motor Generator ที่ช่วยให้การสตาร์เครื่องยนต์มีความนุ่มนวล และเงียบ
– น้ำหนัก 118 กก. เพื่อการขับขี่ที่สปอร์ตยิ่งขึ้น
– รูปลักษณ์การออกแบบที่สะท้อนถึงกล้ามเนื้อของนักกีฬา
โดยนอกจากรุ่นมาตรฐานแล้ว ยังมีรุ่น R Version ที่ได้รับการติดตั้งกันสะเทือนหลังที่ใช้โช้คอัพแบบซับแท็งค์ พร้อมระบบดิสก์เบรกหน้าแบบ ABS และรุ่น A/I Version ที่มาพร้อมระบบ Stop & Start** และกุญแจอัจฉริยะ*** โดยรถรุ่นนี้มีสายการผลิตทั้งจากประเทศไทย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย
2016 KX250F แรงด้วยเทคโนโลยี ที่ยังไม่มีใครตามทัน
ปี 2016 เป็นปีที่ทั้งสี่ค่ายโมโตครอสญี่ปุ่นประกาศตัวเป็นผู้นำเข้ารถ โมโตครอสผ่านบริษัทในประเทศไทยโดยมีตัวแรงพิกัดยอดฮิต 250F เป็นหลัก และคาวาซากิเป็นค่ายแรกที่นำส่งรถ KX250F ถึงมือลูกค้าได้ก่อนใคร โดยการจำหน่ายของศรีสกลมอเตอร์สปอร์ต แน่นอนว่าไรดิ้งแมกกาซีนไม่รอช้าคว้าโอกาสในการทดสอบมาฝากก่อนใคร กับคอลัมน์ซีรีส์ที่แฟนโมโตครอสต้องดู MX Sample 2016 โดยการสนับสนุนของ ยางรถจักรยานยนต์ควิกและวงล้อโยโก
2016 เป็นปีที่ไม่น่าตื่นเต้นนักสำหรับโมโต
ครอสจากแดนอาทิตย์อุทัย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางรูปธรรมที่ไม่มากมายถึงขนาดจะดึงดูดใจให้เกิดกระแสขึ้นมาได้ แต่กระนั้นตลาดรถสนามทางฝุ่นก็ไม่ได้เงียบเหงา ยังคงมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากการเป็นกิจกรรมที่เพิ่มความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดย KX250F เป็นอีกหนึ่งค่ายที่สายแข็งมองข้ามไม่ได้ เนื่องจากหากมองกันในกลุ่มโมโตครอสจากญี่ปุ่นด้วยกันแล้ว มันคือรถที่มากมายไปด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานและเทคโนโลยีจากตัวแข่งระดับโลกที่ทะยอยบรรจุเอาไว้แม้ว่าจะไม่ได้ปรับเปลี่ยนทางด้านดีไซน์แบบผิดหูผิดตาก็ตาม
สองหัวฉีดยังเป็นจุดขาย
ด้วยพื้นฐานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะสูบเดียวแบบ DOHC สามารถเปลี่ยนโหมดการสำแดงฤทธิ์เดชได้ด้วยการสลับคับเลอร์หรือปลั๊กเสียบที่จะช่วยเปลี่ยนนิสัยให้กับมัน และระบบเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดที่ไม่มีอะไรน้อยหน้าคู่แข่งแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นแต้มต่อเหนือกว่าคือการที่ค่ายสีเขียวใช้หัวฉีดเชื้อเพลิงถึงสองหัววางไว้ในตำแหน่งที่ต่างกัน เพื่อการคงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ได้อย่างยาวนาน มีย่านของรอบเครื่องยนต์ที่เรียกใช้ได้อย่างกว้างขวางกว่า เป็นแนวคิดที่นำมาสู่การใช้งานจริงเมื่อหลายปีก่อน และยังเพิ่มความแข็งแรงด้วยลูกสูบแบบพิเศษมาให้อีกด้วย นับเป็นความแข็งแกร่งของเครื่องยนต์ที่ยังคงครองใจนักบิดสไตล์รอบเรียกไวไม่ตันเร็วไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ผสานด้วยการเรียบเรียงขุมพลังให้ดุดันจากคอท่อไอเสียแบบเพาเวอร์บอมบ์
กันสะเทือน สำหรับมือก้าวหน้า
KX250F เป็นเพียงค่ายเดียวที่เคลือบผิวแกนโช้คหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวมาให้จากโรงงาน และไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาด้วยการนำระบบแยกการทำงานของตะเกียบหน้าทั้งสองตัวมาใช้ (Separate Front Fork) ก่อนใครเช่นกัน แม้ CRF250R ปี 2015 และ RM-Z250 ปี 2016 จะแซงหน้าไปแล้วด้วยการใช้แรงดันอากาศแทนสปริง แต่ KX250F ก็ยังคงเชื่อมั่นว่าระบบสปริงในโช้คหน้าด้านขวายังเหมาะกับรถระดับ 250F มากกว่า โดยได้พัฒนาเป็น SFF TYPE 2 ที่มีน้ำหนักเบาแต่ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ส่วนโช้คหลังยังคงไว้ใจใช้บริการโช้คเดี่ยวของแบรนด์เดียวกัน Showa ที่สามารถปรับค่าการทำงานได้อย่างครบถ้วนร่วมกับกระเดื่องยูนิแทร็คเหมือนเช่นเดิมและใช้สีเขียวสดประจำค่ายในการเพิ่มสีสันให้กับขดสปริงต่อเนื่องเป็นปีที่สองอีกหนึ่งทีเด็ดของชุดช่วงล่างคือระบบเบรกด้วยดิสก์เบรกหน้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในคลาสเดียวกันถึง 270 มม. ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานของตัวแรงระดับ 450F








เอาใจนักแข่งทุกไซส์
นอกจากเทคโนโลยีในส่วนหลักของตัวรถแล้ว KX250F ยังได้เพิ่มทางเลือกที่มากกว่าสำหรับนักแข่ง (หรือนักขี่) ด้วยการเผื่อให้สามารถปรับความสูงของพักเท้าที่มีระดับความสูงต่างกัน 5 มม. มากพอที่จะส่งผลในการควบคุม อีกจุดที่มีผลมากเช่นกันคือตำแหน่งยึดแฮนด์บนแผงคอบนที่สามารถขยับให้ใกล้หรือไกลได้ตามถนัดถึง 4 ระดับ รวมการปรับได้มากสุดถึง 35 มม. ขอบคุณการเปิดโอกาสทดสอบในครั้งนี้จากบริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอบคุณการประสานงานถ่ายทำและทดลองโดยคุณเกรียงไกร วรรัตนธรรม แห่งศรีสกลมอเตอร์สปอร์ต ผู้จำหน่ายรถแข่งคาวาซากิ KX250F โทร 08-1873-4551 ขอบคุณสถานที่ถ่ายทำสนามท่ารั้ว จ.เชียงใหม่ ขอบคุณเครื่องดื่ม GSD ชุดนักทดสอบ SCOYCO และร้านเดิร์ทช็อพ ขาดไม่ได้เสี่ยไข่เอ็นจอย ยุทธพงษ์ เทพประสงค์ เจ้าของรถใจดีที่มาร่วมออกกำลังกายยามเช้าอย่างเต็มใจ คิวต่อไปจะเป็นสีไหน เป็นค่ายโปรดของใคร โปรดติดตาม

ข้อมูลเทคนิค 2016 KX250F
เครื่องยนต์ ระบายความร้อนด้วยน้ำ, 4 จังหวะสูบเดียว DOHC 4 วาล์ว
ปริมาตรกระบอกสูบ/ ลูกสูบ x ระยะชัก 249cc / 77.0 x 53.6 มม.
ระบบเชื้อเพลิง 2 หัวฉีด DFI เรือนลิ้นเร่งเคฮิน 43 มม.
อัตราส่วนการอัด 13.8:1
ระบบจุดระเบิด Digital DC-CDI
ระบบส่งกำลัง เกียร์ 5 สปีด คลัทช์แบบหลายแผ่น
ระบบขับเคลื่อน โซ่ 520
เฟรม เฟรมเหลี่ยมอลูมินัม
แรค / เทรล 28.7 องศา / 5.0 นิ้ว
โช้คหน้า 48 มม. หัวกลับ Showa SFF ทำงานแยกส่วน สปริงพรีโหลด
40 ระดับ คอมเพรสชั่น 22 ระดับ รีบาวด์ 20 ระดับ ช่วงยุบ 12.4 นิ้ว
โช้คหลัง กระเดื่องยูนิแทรคพร้อมโช้คเดี่ยว SHOWA โลว์สปีด 19 ระดับ
และไฮสปีด 4 รอบ รีบาวด์ 22 ระดับ ปรับสปริงพรีโหลด ช่วงยุบ12.2 นิ้ว
ยางหน้า / ยางหลัง 80/100-21 / 100/90-19
เบรกหน้า ดิสก์เบรกเดี่ยว 270 มม. กึ่งโฟล์ทติ้ง คาลิเปอร์ลูกสูบคู่
เบรกหลัง ดิสก์เบรกเดี่ยว 240 มม. คาลิเปอร์ลูกสูบเดี่ยว
ยาว / กว้าง / สูง / สูงจากพื้น / สูงถึงเบาะ 85.4 นิ้ว / 32.3 นิ้ว / 50.0 นิ้ว / 58.1 นิ้ว / 13.0 นิ้ว / 37.2 นิ้ว
น้ำหนัก 104.2 กก.
ถังน้ำมันจุ 7.3 ลิตร
ยุทธพงษ์ เทพประสงค์ (ไข่ เอ็นจอย จ.เชียงใหม่) เจ้าของรถ KX250F ปี 2016
“รถที่ใช้อยู่ก็ CRF250L และ CRF250R ครับ ที่ตัดสินใจซื้อ KX250F ก็เพราะว่าอยากจะลองดูค่ายอื่นบ้าง จริงๆ ก็ชอบทุกสี ตอนนี้ที่ติดใจก็คือระบบช่วงล่างแล้วก็กำลังเครื่องยนต์ที่เรียกตอนหน้าเนินคือมันทันใจแล้วก็ไม่ต้องเดินแรงในแบงค์ สรีระมันเล็กกะทัดรัดจากรถที่มีอยู่ ทำให้ท่าทางการขี่ต้องเปลี่ยนครับ”
ความเห็นนักทดสอบ
เขมรัฐ สุธรรมวาท
“ในปี 2016 KX250F ไม่ได้มีอะไรงอกเงิยขึ้นมากว่าปี 2015 ครับ ถือเป็นจุดอ่อนของปีล่าสุด นั่นน่าจะเป็นเพราะว่าทีมงานเน้นที่จะโชว์และให้พุ่งความสนใจไปที่ KX450F โฉมใหม่มากกว่า ดังนั้น KX250F ปี 2016 จึงยังคงเอาไว้ซึ่งคุณสมบัติและรายละเอียดทางเทคนิคเช่นเดียวกับรุ่นปี 2015 ครับ มองในมุมของผู้ติดตามและชื่นชอบในเรื่องการอัพเดทอาจจะผิดหวังไปบ้าง แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า KX250F เป็นรถที่ถูก “เพิ่มเติม” ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะถูกเรียกได้ว่า “เติมเต็ม” กันไปแล้วตั้งแต่ปี 2015 ที่ผ่านมา หลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่มีในค่ายอื่น ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวฉีดคู่ และลันช์คอนโทรล โช้คหน้าที่มีการเคลือบผิวแกนโช้ค พักเท้าที่สามารถเลือกปรับความสูงได้ ดิสก์เบรกหน้าโอเวอร์ไซส์ มันคือสิ่งที่ค่ายอื่นไม่มีให้ ขณะที่เทคโนโลยีเท่าเทียมก็ไม่มีอะไรน้อยหน้าค่ายอื่น โช้คหน้าแบบ SFF แฮนเดิลบาร์ปรับตำแหน่งได้ คอท่อไอเสียเพาเวอร์บอมบ์ คับเลอร์เปลี่ยนโหมดเครื่องยนต์ มีให้เลือกใช้กันอย่างพร้อมสรรพที่ยังมาพร้อมมิติของตัวรถที่ปราดเปรียว ถ้าปรับปรุงรูปร่างของปลายท่อไอเสียให้เล็กและสั้นกว่านี้หน่อยมันจะดูพลิ้วกว่านี้ ความรู้สึกของเครื่องยนต์ยังคงสร้างความประทับใจได้เสมอจากการตอบสนองแบบไม่มีรีรอและส่งแรงม้าออกมาแบบเนื้อๆ ความรู้สึกของคนที่ได้สัมผัสจึงไปในทางเดียวกันว่ามัน “แรง” ขณะที่กันสะเทือนอาจจะขัดใจหน่อยสำหรับมือใหม่ แต่ถ้าได้เพิ่มความเร็วในระดับหนึ่งแล้วจะพบว่ามันคือโช้คที่รองรับมือระดับก้าวหน้าถึงโปรโดยไม่ต้องไปพึ่งโช้คโมแต่อย่างใด พร้อมกับคาแรคเตอร์ของการทรงตัวที่ไว้ใจได้ ผนวกกับเบรกที่ตอบสนองฉับไว เป็นรถที่จะสนุกกับสมรรถนะของมันเพื่อการพัฒนาฝีมือได้อย่างดีครับ
2017 Suzuki RMZ450
พัฒนาต่อยอดหลังปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ พร้อมเป็น ที่สุดของซีรี่ส์ SX-F เท่าที่เคยผลิตออกมา Suzuki ส่ง MXer โมเดล 2017 ที่นำขบวนออกจากไลน์การผลิตด้วยเรือธงอย่าง RM-Z450 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ว่าพัฒนาโดย Factory Motocross Team คือ Suzuki Holeshot Assist Control (S-HAC) ระบบที่พัฒนาเพื่อความโดดเด่นในการออกตัว พร้อมทะยานออกจากกริดสตาร์ทในทุกสภาพพื้นผิวแทร็ค และ Air Fork ที่พัฒนาให้เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดย Air Fork หรือระบบกันสะเทือนหน้า Showa SFF-Air fork ที่มาพร้อมกับลูกเล่นสุดล้ำ “ง่ายแบบไม่เคยมีมาก่อน”ในการปรับเซ็ท เพียงการดาวน์โหลดแอพ SFF-Air Support app จาก Showa ทั้งแบบ Android หรือ Apple ที่จะจำลองผลการปรับเซ็ทค่าต่างๆที่หลากหลายแบบเพื่อช่วยให้สามารถเลือกการเซ็ทระบบกันสะเทือนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ RM-Z ของคุณ โดย SFF-Air Fork ที่ได้รับการพัฒนามาจากทีมแข่งโรงงานนี้จะแบ่งห้องแชมเบอร์เป็นสามห้อง คือ Inner Air Chamber ที่จะเป็นห้องหลักในการรับแรงกดกระแทก (ค่าสปริงเรท) , ถัดมาเป็นห้องที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลในจังหวะระบบกันสะเทือนคลายตัว คือ Balnce Air Chamber opposing และ ห้องที่สามจะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของห้องหลักทั้งสอง คือ Outer Air Chamber ขณะที่ในส่วนของระบบ S-HAC นั้น ระบบที่ออกแบบมาเพื่อเลือกโหมดการออกตัวจากกริดสตาร์ท ที่ได้รับการปรับจากเวอร์ชั่นแรกที่ออกมาในปี 2015 ซึ่งจะมีสามโหมดการใช้งานให้ผู้ขี่เลือกออพชั่นการขี่ตามทักษะและสภาพการแข่งขัน คือ A Mode : สำหรับพื้นผิวที่แข็ง หรือ สภาพสนามบริเวณกริดสตาร์ทที่ลื่น โดย S-HAC จะช่วยลดอาการลื่นของล้อช่วยให้ออกตัวได้นุ่มนวล แล้วเมื่อผ่านไป 1.2 วินาทีหรือเตะเกียร์สาม ระบบจะตัดกลับมาใช้ค่าการจุดระเบิดแบบเดิม B Mode : เมื่อสภาพพื้นผิวที่เกมสตาร์ทมีสภาพที่หนึบพอสำหรับการออกตัว โดยที่ต้องใช้การพุ่งออกจากกริดที่ดุดันรุนแรง โดยในโหมดนี้จะตัดกลับมาที่ค่าการจุดระเบิดแบบเดิม เมื่อมีสามสถานการณ์ คือ ผ่านไป 4.5 วินาทีนับจากจังหวะการเปิดคันเร่ง , เมื่อเปลี่ยนเข้าเกียร์สี่ และ เมื่อยกคันเร่ง Base Mode : จะเป็นการออกตัวด้วยค่ามาตรฐานของการเซ็ทค่าเชื้อเพลิงปกติ กล่าวคือ ไม่มีการใชงานระบบ S-HAC ในการออกตัว
สำหรับเครื่องยนต์ยังคงเป็นขนาด 449 ซี.ซี. 4จังหวะ DOHC 4วาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ จ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด ที่ยังคงจุดเด่นเรื่องสมรรถนะความแข็งแกร่งของกำลังเครื่องยนต์อันทรงพลัง โดย piston และ piston pin พัฒนาโดยการใช้ระบบวิเคราะห์ Finiite Element Method(FEM) ซึ่งเป็นระบบคำนวณเพื่อหาขีดจำกัดของชินส่วนดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและลดแรงเสียดทาน ช่วยให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานจึงมีการเคลือบพื้นผิว piston pin แบบ Daimond-Like Carbon(DLC) สำหรับในส่วนของเครื่องยนต์นี้ได้ออกแบบให้ผู้ขี่สามารถ ปรับเซ็ทสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เหมาะสมกับสภาพสนามอย่างง่ายดายการเพิ่มค่าการเซ็ทอัตราการจ่ายเชื้อเพลิงได้สองค่าผ่าน fuel-setting couplers โดยสามารถเสียบได้ง่ายที่ข้างสนาม เพียงเลือกที่จะต่อสายกับ Couplerตามความต้องการ โดยตัวหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงมากกว่า ขณะที่อีกตัวหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับค่าเดิม
แชสซีส์ที่ลงตัวด้วยการปรับในส่วนของเฟรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย twin spar aluminium frame ที่พัฒนาจนลงตัวระหว่างความแข็งแกร่งและการให้ตัวของชิ้นส่วน ที่มีส่วนให้ RM-Z คือหนึ่งในรถโมโตครอสที่มีประสิทธิภาพในโค้งดีที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยเฟรมในโมเดลนี้จะมีน้ำหนักเบาและเพรียวกว่าเฟรมที่ใช้ในโมเดลก่อนหน้านี้
ข้อมูลพื้นฐานของตัวรถ มีดังนี้
เครื่องยนต์ 449ซี.ซี., 4-จังหวะ,
ระบายความร้อนด้วยน้ำ, สูบเดียว, DOHC
กระบอกสูบxช่วงชัก 96.0 x 62.1 ม.ม.
อัตราส่วนกำลังอัด 12.5:1
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง Fuel Injection
สตาร์ทเครื่องยนต์ kick start
การส่งกำลัง 5สปีด
คลัทซ์ แบบเปียกหลายแผ่นซ้อน
โซ่ DID520MXV4, 114 ข้อ
กันสะเทือนหน้า ช๊อคหัวกลับแบบ
telescopic, air spring, oil damped
กันสะเทือนหลัง แบบกระเดื่อง, coil spring,
oil damped
เบรกหน้า ดิสก์เบรกเดี่ยว
เบรกหลัง ดิสก์เบรกเดี่ยว
ยางหน้า 80/100-21 51M, tube type
ยางหลัง 110/90-19 62M, tube type
ความจุถังเชื้อเพลิง 6.2 ล.
การจุดระเบิด Electronic Ignition (CDI)
ความยาว 2190 ม.ม.
ความกว้าง 830 ม.ม.
ความสูง 1270 ม.ม.
ระยะฐานล้อ 1495 ม.ม.
ความสูงจากพื้น 325 ม.ม.
ความสูงเบาะนั่ง 955 ม.ม.
น้ำหนัก 112 ก.ก.
ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม คว้าดับเบิ้ลวิน-โพเดี้ยม แสตมป์-อภิวัฒน์ ครองบัลลังค์แชมป์ Asia Production 250 cc.
ทัพนักบิดไทยสังกัด ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม กระชากคันเร่งรถแข่งตระกูล R-Series ทำผลงานระดับมาสเตอร์พีชในศึกชิงแชมป์เอเชีย สนาม 5 โดยนักบิดดาวรุ่ง แสตมป์-อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 โชว์ฟอร์มแกร่งทำดับเบิ้ลวินคว้าชัยชนะอันดับ 1 ทั้ง 2 เรซ ส่งผลให้คะแนนสะสมนำขาดลอย ผงาดครองบัลลังค์แชมป์ประจำปีรุ่น Asia Production 250 cc. อย่างยิ่งใหญ่ ส่วน ตั้น-เดชา ไกรศาสตร์ #24 นักบิดจอมเก๋าของทีม ทำผลงานเยี่ยมด้วยการคว้าอันดับ 2 ทำดับเบิ้ลโพเดี้ยมรุ่น SuperSport 600 cc. ในการแข่งขัน FIM ASIA ROAD RACING CHAMPIONSHIP 2016 ณ สนาม Buddh International Circuit ที่ประเทศอินเดีย
“ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม” ผงาดคว้าแชมป์เอเชียอย่างยิ่งใหญ่
แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ ผลงานสุดแกร่ง ชนะดับเบิ้ลเรซ รุ่น Asia Production 250 cc.
ในที่สุดแฟนความเร็วชาวไทยก็ได้เฮกันกระหึ่ม กับความสำเร็จระดับ “แชมป์เอเชีย” ของทีมแข่งชาติไทยอย่าง “ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม” ในรายการ FIM ASIA ROAD RACING CHAMPIONSHIP 2016 โดยฝีมือการขี่อันยอดเยี่ยมของ แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 ที่โชว์ผลงานสุดแกร่ง ด้วยชัยชนะแบบ “ดับเบิ้ลเรซ” รุ่น Asia Production 250 cc. กวาดแต้มทิ้งห่างคู่แข่งขาดลอย กลายเป็นนักแข่งระดับ “แชมป์เอเขีย” คนล่าสุดของประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม ก็คว้าแชมป์ประเภททีมไปครองได้อย่างงดงามควบคู่กัน
การแข่งขัน ARRC สนามที่ 5 ใน Buddh International Circuit ประเทศอินเดีย ในรุ่น Asia Production 250 cc. แบ่งการแข่งขันเป็น 2 เรซ โดยในเรซแรก แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 คว้าอันดับหนึ่งบนโพเดียมมาแล้ว ทำให้คะแนนสะสมจ่อคว้าแชมป์เต็มที เข้าสู่เรซที่ 2 “แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 พร้อมด้วยทีมเมทอย่าง ตี – อนุภาพ ซามูล #500 และเติ้ล – พีระพงษ์ หลุยบุญเป็ง #14 กลับมาลงสนามอย่างมั่นใจด้วยแผนการแข่งขันที่เตรียมมาเป็นอย่างดี สัญญาณสตาร์ทดับลง นักแข่งในรุ่น Asia Production 250 cc. ทุกคันบิดคันเร่งชิงจังหวะสู่โค้งแรก และแสตมป์ – อภิวัฒน์ #24 ก็ยังทำได้ดีกับการขึ้นไปนำก่อนในรอบแรก ตามด้วย ตี – อนุภาพ #500 และนักแข่งคนอื่นๆ เรซ 2 ของรุ่น Asia Production 250 cc. เป็นเกมที่ยาก เนื่องจากในกลุ่มนำนั้นมีการสลับตำแหน่งกันแทบทุกรอบ ความสามารถของนักแข่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน ในเกมนี้ แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 และตี – อนุภาพ ซามูล #500 ต่างสร้างจังหวะขึ้นนำได้หลายรอบ แม้ว่าในรอบที่ 5 นั้นยามาโมโต ซึ่งเป็นนักแข่งที่มีลุ้นแย่งแชมป์กับแสตมป์ – อภิวัฒน์ #24 ได้ประสบอุบัติเหตุต้องออกจากการแข่งขันไป แต่นักแข่งคนอื่นๆ ก็ยังโชว์ฝีมือการขับขี่ได้น่ากลัว อย่างไรก็ตามในรอบสุดท้าย แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 ใช้ความชาญฉลาดในการชิงจังหวะแซงขึ้นนำ และพุ่งเข้าเส้นชัยในอันดับ 1 ได้ท่ามกลางเสียงเชียร์กึกก้องของแฟนความเร็วชาวอินเดียที่มาชมการแข่งขัน ส่วนเพื่อนร่วมทีมอย่าง ตี – อนุภาพ ซามูล #500 เข้าเส้นชัยในอันดับ 5 ขณะที่ เติ้ล – พีระพงษ์ หลุยบุญเป็ง #14 เข้ามาในอันดับ 6 ตามลำดับ
ผลของชัยชนะในเรซที่ 2 ของ แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24 ทำให้เขาสามารถคว้าแชมป์เอเชียในรุ่น Asia Production 250 cc. ได้สำเร็จ เป็นการบันทึกประวัติศาตร์ครั้งใหม่อีกสำหรับนักแข่งไทยภายใต้การสนับสนุนจาก ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม ทีมที่มีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่การพาธงไตรรงค์สะบัดไกลในระดับนานาชาติต่อเนื่องต่อไป
บทสัมภาษณ์หลังการแข่งขันเรซที่ 2 แสตมป์ – อภิวัฒน์ วงศ์ธนานนท์ #24
“วันนี้เป็นวันที่ผมรอคอยมาทั้งปี แม้ว่าในเรซที่ 2 นี้จะเป็นเกมที่ค่อนข้างยาก เพราะคู่แข่งมีการทำการบ้านกันมาอย่างดี แต่ด้วยแผนการขับขี่ที่ยอดเยี่ยมของเรา ทำให้ผมได้ผลการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ ต้องขอบคุณทีมเมทของผม และทีมงาน ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม และทีมช่างทุกคนที่ทำงานกันอย่างหนัก เพื่อหาข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาทุกๆ ด้านของรถแข่ง จนทำให้ผมได้ขี่รถที่ยอดเยี่ยม จนทำให้มีวันที่ผมเป็นที่ 1 ของเอเชีย ภูมิใจมากครับกับความสำเร็จครั้งนี้ ตัวผมเองก็คงไม่หยุดนิ่งอยู่แค่นี้ คงต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องต่อไปครับ”
ตี – อนุภาพ ซามูล #500
“อย่างที่เห็นครับ วันนี้เกมการแข่งขันในเรซ 2 รุ่น 250 ถือว่ามีจังหวะเฉือนกันหลายรอบเพราะทุกคนเร็วขึ้นมา ผมเองในช่วงแรกสามารถขี่ขึ้นไปสลับกันนำกับแสตมป์ได้ ช่วงกลางมีบางจังหวะที่ติดขัด แต่ผมก็ตั้งใจไล่ขึ้นมาจบในลำกับที่ 5 ได้ ในส่วนการขับขี่ของผมเองถือว่าวันนี้ยังไม่ค่อยพอใจนักเพราะน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตามทีมเราวันนี้มีเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งกับแชมป์เอเชียของแสตมป์ ส่วนผมเองสนามหน้าที่บ้านเราจะตั้งใจสร้างผลงานดีๆ ให้ได้อีกครั้งครับ”
เติ้ล – พีระพงษ์ หลุยบุญเป็ง #14
“แน่นอนครับวันนี้ถือเป็นที่เกมยากเพราะแต่ละทีมเตรียมตัวมากันเป็นอย่างดี ผมเองพยายามขี่เกาะกลุ่มนำเพื่อประสานงานกับเพื่อนร่วมทีม แต่วันนี้รถผมมีอาการฮีทเลยต้องประคองให้จบการแข่งขันให้ได้ รอบสุดท้ายผมยังมีจังหวะที่โดนเสียบทำให้พลาดเสียจังหวะ แต่ก็สามารถเข้าเส้นชัยในอันดับที่ 6 สำหรับผมการได้มาแข่งที่อินเดียครั้งนี้ ก็พอใจกับผลงานในระดับหนึ่งครับ เพราะเป็นสนามใหม่ที่ไม่เคยขี่มาก่อน แต่ยังไงก็คงต้องพัฒนาตัวเองต่อไปครับ เจอกันสนามหน้าที่ บุรีรัมย์”
สำหรับ รุ่น Supersports 600 cc.
ตั้น – เดชา ไกรศาสตร์ #24 ออกสตาร์ทอย่างมั่นใจกับระบบการเซ็ทติ้งใหม่ที่ทำให้เปิดเกมสู้กับนักแข่งระดับเวิร์ลด์คลาส แอนโทนี่ เวส อย่างสนุกพร้อมสลับกันแซงในตลอด10 รอบแรกของการแข่งขัน ก่อนที่ ตั้น – เดชา ไกรศาสตร์ #24 จะไปสไลค์ในโค้งแรก ทำให้คู่แข่งขยับหนีออกไป แต่ ตั้น – เดชา ไกรศาสตร์ #24 ก็รักษาตำแหน่งที่ 2 ไว้ได้จนการแข่งขันครบ 19 รอบสนามในการแข่งขันรุ่น Supersports 600 cc. นำยามาฮ่า YZF-R6 และ ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม คว้าดับเบิ้ลโพเดี้ยมมาครอง ทั้งยังเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดเหนือกว่านักแข่งในย่านเอเชียด้วยกัน เป็นการคืนโพเดี้ยมอีกครั้งนับจากเคยคว้าชัยชนะมาได้ที่ประเทศญี่ปุ่น และเป็นผลงานที่ดีวันดีคืนนับตั้งแต่กลับเข้ามาร่วมการแข่งขันในรายการเอเชียโรดเรซซิ่งอีกครั้ง
ส่วนเพื่อนร่วมทีม ซุป – อนุชา นาคเจริญศรี #14 ออกสตาร์ทในอันดับที่ 10 สามารถขยับอันดับขึ้นมาลุ้นอยู่ในอันดับ 5 เปิดเกมชิงตำแหน่งกับ ยูกิ ทากาฮาชิ ในช่วง 5 รอบสุดท้ายอย่างสนุก ก่อนที่จะขยับแซงขึ้นมาคว้าอันดับที่ 4 มาได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน
บทสัมภาษณ์หลังการแข่งขันเรซที่ 2 ตั้น – เดชา ไกรศาสตร์ #24
“ตำแหน่งเหมือนเมื่อวานคือได้อันดับที่ 2 ครับ ทั้ง 2 เรซ แต่ในเรซที่ 2 นี้เรามีการเซ็ทติ้งรถใหม่ซึ่งของเราดีขึ้นเยอะเมื่อเทียบกับเมื่อวาน วันนี้เราขี่ได้สูสีกับแอนโทนี เวส มาตลอดสิบกว่ารอบ มีโอกาสแซงได้แต่ว่าแอนโทนี่มีความแข็งแกร่งในบางโค้งในสนามแห่งนี้ที่เขามั่นใจทำให้เราลำบากในบางโค้ง จนในรอบที่ 12 ผมไปพลาดในโค้งแรกล้อหลังสไลค์มากเกินไปคอนโทรลไม่อยู่โอเวอร์ไลน์ไปนิดเดียว พอมีแก๊ปความห่างเลยทำให้เราไม่สามารถตามเขาให้ทันได้ พอดีผมก็เช็คข้างหลังว่ายังห่างก็เลยเข้าโหมดประคองไปก่อน เพราะยางสึกค่อนข้างเยอะและยางก็อาการค่อนข้างเยอะเหมือนกัน แน่นอนขอบคุณทีมงานแม็คคานิสก์ทุกท่านที่ทำงานหนักมาตลอดสองสามวันนี้ ขอบคุณสปอนเซอร์ทุกๆ คน ขอบคุณ ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม ขอบคุณทุกๆ อย่างที่ทำให้เกิดวันนี้ขึ้น ถือเป็นผลงานที่ดี เรียกความมั่นใจให้กับผมได้หวังว่าสนามสุดท้ายที่บุรีรัมย์เราจะชนะได้ ผมค่อนข้างมั่นใจในตัวรถที่จะคว้าชัยชนะที่บุรีรัมย์ครับ”
ซุป – อนุชา นาคเจริญศรี #14
“ออกสตาร์ทไปในรอบแรกโดนคู่แข่งเบอร์ 33 กระแทกออกไป ซึ่งเป็นช่วงของการช่วงชิงตำแหน่งกัน ทำให้เราเสียตำแหน่งไปเยอะ ก็พยายามไล่ขึ้นมาเก็บทีละคนขึ้นมา ต้องบอกก่อนว่าทุกๆ คนเร็วมากเร็วกว่าเมื่อวาน ส่วนผมก็เร็วขึ้นเมื่อดูจากแล็ปทาม เร็วขึ้นมาเยอะเลยเร็วกว่าเดิมเป็นวิ ก็พยายามบวกเข้ามา แน่นอนว่าเมื่อวานเรามีประสบการณ์เรื่องยางว่าเราไม่ระวัง มาเรซนี้เราระมัดระวังมากขึ้น เก็บยางไว้เพื่อขยับขึ้นมาแต่ก็ช้าเกินไปได้แค่แซง ยูกิ ทากาฮาชิ จริงๆ อยากแซงอัสลานให้ได้แต่เขาก็เก็บยางไว้เหมือนเรา พอรอบหลังเขาก็กดเหมือนกัน ทุกคนในหัวแถวใช้แผนเดียวกันกับเรา ทำให้แผนเราใช้ค่อนข้างยาก ส่วนตัวผมก็พอใจกับผลงานครับ”
เอ.พี.ฮอนด้า -นักบิดไทยสุดเจ๋ง!! บิดขึ้นโพเดียมศึกเอเชีย โรดเรซซิ่ง ที่อินเดีย
“เจ้าดรีม” สิทธิศักดิ์ อ่อนเฉวียง นักบิดหนุ่มชาวไทยจากทีม เอ.พี.ฮอนด้า เรซซิ่ง ไทยแลนด์ สร้างผลงานยอดเยี่ยมคว้าโพเดียมของการแข่งขันรุ่น เอเชีย โปรดัคชั่น250 ซีซี. ที่ อินเดีย ได้สำเร็จ ในศึก เอเชีย โรด เรซซิ่ง เรซสองที่ อินเดีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ขณะที่ “เจ้าบลู” สิทธิพร ศรีมูลตรี ไม่พลาดขึ้นโพเดียมรุ่น เอเชีย ดรีม คัพ ด้วยเช่นกัน
ศึกรถจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์เอเชีย รายการ เอเชีย โรด เรซซิง แชมเปียนชิป สนามที่ 5 ซึ่งเป็นสังเวียนรองสุดท้ายของซีซัน 2016 แข่งขันกันที่สนาม พุทธ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต ประเทศอินเดีย โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2559 เป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เรซสอง ซึ่งทาง เอ.พี.ฮอนด้า เรซซิง ไทยแลนด์ ได้ส่งนักแข่งสัญชาติไทยลงสนามชิงชัยหลายรุ่นเช่นเคย
เริ่มกันที่รุ่น เอเชีย โปรดัคชั่น 250 ซีซี. แข่งทั้งหมด 9 รอบสนาม เอ.พี.ฮอนด้า ส่งนักบิดในสังกัดลงขับเคี่ยว 3 ราย ประกอบด้วย “เจ้าดรีม” สิทธิศักดิ์ อ่อนเฉวียง หมายเลข 91สตาร์ทกริดที่ 6, “เจ้าเอ้” วรพงศ์ มาลาหวล หมายเลข 46 สตาร์ทกริดที่ 7 และ “เจ้าก้อง” สมเกียรติ จันทรา หมายเลข 18 สตาร์ทจากกริดที่ 8 โดยเรซก่อนหน้านี้ทั้ง 3 เก็บแต้มได้หมดจาก วรพงศ์ เข้าเส้นชัยอันดับ 4, สมเกียรติ อันดับ 6 และ สิทธิศักดิ์ อันดับ 8 สิ้นสัญญาณไฟ นักบิดทั้ง 3 ออกสตาร์ทจากกริดของตัวเองได้ดี โดยเฉพาะ สิทธิศักดิ์ ที่ทำได้ยอดเยี่ยมบิดแซงทุกคนขึ้นมาเกาะกลุ่มแถวหน้าได้ แม้จะมีช่วงที่หลุดตำแหน่งท็อป 3ไปแต่ “เจ้าดรีม” ไม่ยอมแพ้บิดทวงตำแหน่งคืน จนในที่สุดก็เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 2 เวลา 20 นาที 38.285 วินาที ขณะที่ วรพงศ์ เข้ามาเป็นอันดับ 4 ด้าน สมเกียรติ โดนปรับโทษต้องวิ่งจากพิตเลน จบอันดับ 16 พลาดแต้มแบบน่าเสียดาย
สรุปตารางคะแนน 3 นักบิดของ เอ.พี.ฮอนด้า ประกอบด้วย วรพงศ์ อันดับ 7 มี 78 แต้ม, สมเกียรติ อันดับ 8 มี 65 แต้ม และ สิทธิศักดิ์ อันดับ 12 มี 51 แต้ม
ต่อมาเป็นรุ่น ซูเปอร์สปอร์ต 600 ซีซี. แข่งทั้งหมด 16 รอบสนาม เอ.พี.ฮอนด้า ส่งนักบิดลงชิงชัยคือ “เจ้าบอล” จักรกฤษณ์ แสวงสวาท หมายเลข 91 สตาร์ทจากกริดที่ 14 ขณะที่อีกรายคือ “ติ๊งโน๊ต” ฐิติพงษ์ วโรกร หมายเลข 100 สตาร์ทจากกริดที่ 9 ซึ่งลงแข่งในนามทีม “ฮอนด้า ติ๊งโน๊ต เรซซิ่ง” ซึ่งมี เอ.พี.ฮอนด้า ให้การสนับสนุน โดยเรซที่แล้ว ฐิติพงษ์ เข้าอันดับที่ 11 ส่วน จักรกฤษณ์ อันดับ 17 ผลปรากฏว่าแชมป์ประจำสนามตกเป็นของ แอนโธนี คีธ เวสต์ จาก อาเคโน สปีด เรซซิง ทีม ที่ซิ่งเข้าเส้นชัยคันแรกด้วยเวลา 31 นาที 03.153 วินาที ขณะที่สองนักบิดจาก เอ.พี.ฮอนด้า “ติ๊งโน๊ต” ฐิติพงษ์ เข้าอันดับที่ 12 เก็บแต้มติดมือได้ ส่วน “เจ้าบอล” จักรกฤษณ์ ไม่จบการแข่งขัน พลาดหยิบแต้มเข้ากระเป๋า
สรุปตารางคะแนนของรุ่นนี้ โทโมโยชิ โคยาม่า จาก ที.โปร ฮอนด้า นำเป็นจ่าฝูงอยู่มี 150 แต้ม โดยเจ้าตัวจะต้องไปลุ้นแชมป์กันในสนามสุดท้ายที่ บุรีรัมย์ ส่วนสองนักบิดของ เอ.พี.ฮอนด้า ฐิติพงษ์ อยู่อันดับ 14 มี 43 แต้ม, จักรกฤษณ์ อันดับ 16 มี 26 แต้ม ด้าน รัฐพงษ์ วิไลโรจน์ อีกหนึ่งนักบิดของ เอ.พี.ฮอนด้า ที่ไม่ได้ร่วมแข่งเรซนี้เพราะบาดเจ็บข้อมือ อยู่อันดับ 15 มี 39 แต้ม เท่าเดิม
ส่วนรุ่นสุดท้าย เอเชีย ดรีม คัพ แข่ง 7 รอบสนาม เอ.พี.ฮอนด้า ส่งนักบิด 2 รายร่วมประชันคือ “เจ้าบลู” สิทธิพร ศรีมูลตรี หมายเลข 12 สตาร์ทอันดับ 5 และ “เจ้าแมน” วรพรต เนียมสุคนธ์สกุล หมายเลข 6 สตาร์ทอันดับ 13 ซึ่งผลปรากฏว่า สิทธิพร สร้างผลงานเยี่ยมเร่งเครื่องช่วงโค้งสุดท้ายก่อนคว้าโพเดียมอันดับ 2 ไปครอง ขณะที่ วรพรต เข้าอันดับ 10 เก็บแต้มเพิ่มให้กับตัวเองได้เช่นกัน ส่วนแชมป์คือ บรองค์ เพียร์สสัน จาก ออสเตรเลีย ทำเวลาไป 17 นาที 06.185 วินาที สรุปตารางคะแนนของรุ่นนี้ ได้แชมป์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นคือ ฮิโรกิ นากามูระ จาก ญี่ปุ่น หลังเก็บเพิ่มเป็น 183 แต้ม ทิ้งขาดคู่แข่งทุกคน ส่วน สิทธิพร กับ วรพรต อยู่อันดับ 7 และ10 มี 81 แต้ม และ 71 แต้ม ตามลำดับ ยังมีโอกาสเก็บแต้มเพิ่มเติมได้อีกในการแข่งขันสนามสุดท้ายที่ประเทศไทย
ทั้งนี้ การแข่งขัน เอเชีย โรด เรซซิ่ง แชมเปียนชิป จากนี้จะเดินทางสู่สนามที่ 6 ซึ่งเป็นสนามสุดท้ายของฤดูกาล โดยจะแข่งขันกันที่สนาม ช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ประเทศไทย วันที่ 3-4 ธันวาคม นี้ ซึ่งแฟนๆมอเตอร์สปอร์ตชาวไทย สามารถติดตามข่าวสารของนักบิดจากค่าย เอ.พี.ฮอนด้า เรซซิงไทยแลนด์ ได้ทางเว็บไซต์www.aphondaracingthailand.com