ในช่วงเดือนที่ผ่านมาทางยุโรปค่าย Suzuki ได้ทยอยเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาสู่ตลาด หนึ่งในรุ่นที่น่าสนใจและก็มีเปิดขายในบ้านเราช่วงนี้ก็คือ V-Strom ที่กล่าวได้ว่ามันคือเรือธง สายแอดเวนเจอร์ของค่ายนี้ในปัจจุบัน ซึ่งเจ้า V-Strom นี้ได้เปิดตัวสู่ตลาดในฐานะรถรุ่นใหม่ new generation เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า sport adventure tourer ด้วยโมเดลอย่าง C-Strom 1000 ที่ใช้รหัสรุ่นว่า DL1000 โดยเปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการในปี 2002 ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 90’V-twin DOHC สี่วาล์วต่อสูบ ก่อนจะมีการพัฒนาปรับปรุงขนานใหญ่แล้วเปิดตัวเป็นเจนที่สองของรถในรุ่น V-Strom1000 ที่เปิดตัวในปี 2013 (ขายปี 2014 กล่าวได้ว่ารถที่ผลิตออกมาขายในปี 2014 จึงนับเป็น Gen2)
ซึ่งรถในเจนที่สองนี้ได้เพิ่มขนาดเครื่องยนต์จากเดิม 996ซี.ซี.ไปเป็น 1037 ซีซี ก่อนที่จะอัพเกรดปรับปรุงอีกครั้งด้วยการเปิดตัวใหม่ในปี2019กับ V-Strom1050XT ที่นับเป็นเจนเนอเรชั่นที่สามหรือ Gen3 ของรถในรุ่น V-strom นอกจากการเพิ่มสมรรถนะในส่วนของเครื่องยนต์แล้ว Gen3 นี้ ยังได้ตามเทรนตลาดด้วยการเสริมติดตั้งระบบอิเล็คทรอนิคส์ที่จำเป็นสำหรับรถจักรยานยนต์ในยุคปัจจุบันอีกด้วย กล่าวได้ว่า V-Strom เป็นรถที่มีสมรรถนะที่ดีรุ่นหนึ่งในช่วงเวลานั้น และมันก็ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าโมเดลล่าสุดอย่าง V-Strom1050 ที่ส่งออกมานี้ เป็นช่วงเวลาครบรอบ 20ปี ก็ว่าได้ โดยทางSuzuki ได้เปิดตัวสองเวอร์ชั่น คือ V-Strom1050 กับ V-Strom1050DE ซึ่งพัฒนาต่อยอดออกมาจากโมเดลก่อนหน้านี้ ด้วยการเน้นไปที่การเติมเต็มความสมบูรณ์แบบให้กับระบบอิเล็คทรอนิคส์ advance electronic control systems
สำหรับความแตกต่างของ V-Strom ทั้งสองเวอรืชั่นที่ส่งออกมานี้ จุดหลักๆก็คือ V-Strom1050DE จะใช้ล้อหน้าขนาด 21 นิ้ว ที่มาพร้อมยางที่ใช้ดอกยางแบบ Semi-block pattern ขณะที่ V-Strom1050 นั้นจะใช้ล้อหน้าขนาด 19นิ้ว จากขนาดวงล้อหน้าที่ต่างกันนี้ มันส่งผลให้ เวอร์ชั่นDEนั้น จะมีช่วงระยะrakeกับwheelbaseที่ยาวกว่า มีประสิทธิภาพโดยตรงต่อความมั่นคงในการขับขี่บนเส้นทางที่วิบากขรุขระนั่นเองขณะเดียวกันช่วงยุบตัวของระบบกันสะเทือนในเวอร์ชั่น DE นั้นก็มีมากกว่า เช่นเดียวกับที่ในส่วนของแฮนเดิลบาร์ที่ใช้ในเวอร์ชั่น DE ก็จะมีความกว้างมากกว่าด้วยเช่นกัน กล่าวคือแฮนเดิลบาร์ที่ใช้ใน V-Strom1050Deนั้น จะกว้างกว่าอีกข้างละ 20ม.ม.อีกความแตกต่างที่สำคัญคือ ในส่วนของ Traction control systemนั้น พื้นฐานทั้งคู่จะมี 3modes+ Off มาเหมือนกัน แต่ที่เพิ่มเติม คือ ในV-Strom1050DE นั้นจะมีเพิ่ม G mode และยังเพิ่มฟังก์ชั่น การปรับเซทเพื่อยกเลิกการใช้งาน ABSหลัง( Rear ABS cancel function)ได้อีกด้วย
ขณะที่ในส่วนของเครื่องยนต์นั้นทางSuzuki ยังคงใช้พื้นฐานเครื่องยนต์สี่จังหวะ 90’V-twin DOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายปี โดยในส่วนของเครื่องยนต์ที่ใช้กับโมเดลล่าสุดนี้ ได้รับการเพิ่มเติมให้มีความรู้สึกที่สบายและควบคุมง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยการอัพเกรดและเพิ่มเติมเสริมแต่งในส่วนประกอบต่างๆเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้เครื่องยนต์มีขีดความสามารถสุงสุดในด้านต่างๆมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า การนำระบบ Bi-directional Quick Shift System ควบคู่กับการอัพเกรดระบบส่งกำลัง มีผลให้สามารถส่งผ่านกำลังเครื่องยนต์ได้นุ่มนวล ปรับเปลี่ยนเกียร์ได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับประสบการณณืที่ยอดเยี่ยมในแต่ละจังหวะของการขับขี่ได้อย่างสนุกสนานยิ่งขึ้น แน่นอนว่าในส่วนของระบบอิเล็คทรอนิคส์ที่เป็นหนึ่งใน Advanced electric control ที่Suzuki พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือ S.I.R.S.-Suzuki Intelligent Ride System ที่ซึ่งในเวอรั่นที่ใช้กับ V-Strom1050DE นั้น จะได้เพิ่มเติมในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวกับ Traction Control System ด้วยการเพิ่มโหมดการทำงานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอย่าง นั่นก็คือ G mode โดย G นั้นก็มาจากคำว่า Gravel แปลตรงตัวง่ายๆก็คือ หินกรวดทราย ประมาณนั้น นั่นหมายความว่าโหมดนี้จะช่วยให้สามารถส่งกำลังเครื่องยนต์สู่ล้อได้อย่างเหมาะสมกับการขับขี่บนถนนหรือพื้นผิวที่เป้นกรวดทรายหรือลูกรังประมาณนั้นนั่นเอง มาถึงตรงนี้คงบ่งบอกได้ชัดเจนว่า V-Strom1050DE นั้นก็คือเรือธงตัวจริงของซีรีส์ เป็นตัวท็อป ที่พัฒนาออกมาเพื่อเป้นตัวลุยสายแอ๊ดเว็นเจอร์อย่างเต็มตัวมากยิ่งขึ้น
สำหรับเครื่องยนต์ V-twin engine ของSuzuki ตัวนี้นั้น มีคุณสมบัติที่ดีพอสำหรับบุกตะลุยพื้นนุ่มที่มีร่องลึกหรือดินโคลนดินทรายได้อย่างเต็มที่ เพราะเครื่องยนต์ออกแบบมาให้มีกำลังที่ดีในช่วงรอบการทำงานต่ำ กล่าวได้ว่าทางวิศวะกรได้คำนึงถึงแรงบิดที่ดีสำหรับการใช้งานขับขี่ในช่วง รอบต่ำและรอบกลาง ขณะเดียวกันตัวเครื่องยนต์เองก็ได้รับการออกแบบให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขค่ามาตรฐานไอเสีย Euro5 อีกด้วย สรุปคือ เครื่องยนต์ V-twin ตัวนี้ พร้อมตอบสนองการขับขี่ทั้งในการเดินทางไกลสไตล์ทัวริ่ง พร้อมตอบสนองความสนุกเร้าใจในการขับขี่บนท้องถนนได้อย่างเต็มสมรรถนะ ขณะเดียวกันก็สามารถลุยบนเส้นทางทุนชรกันดารในแบบแอ๊ดเว็นเจอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากขุมพลังของเครื่องยนต์ V-twin ที่มีความจุ 1037 ซี.ซี. ให้กำลังสุงสุด 79.0kW/8500รอบต่อนาที และให้แรงบิดสูงสุดที่ 100.0Nm-6000รอบต่อนาที นอกจากนี้ยังเคลมอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไว้ที่ 19.2ก.ม./ลิตร หรือ 5.2ลิตร/100ก.ม. ที่พิเศษเฉพาะเวอร์ชั่น DE ก็คือในชิ้นส่วนของ drive chain นั้นได้มีการอัพเกรดมาเป้นการเฉพาะเจาจงเพื่อรองรับคุณสมบัติการขับขี่ในโหมด G หรือ Gravel ดังนั้น drive chain จึงมีขนาดของ pin หรือหมุดย้ำข้อต่อของ drive chain ที่ใหญ่กว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ส่วนที่มีการปรับปรุงอัพเกรดไม่น้อยก็คือในส่วนของโครงสร้างแชสซีส์ของตัวรถ
83 ผู้ผลิตอย่าง Suzuki นับได้ว่าเป็นค่ายแรกที่ตัดสินใจใช้ all-aluminium frame มาผลิตกับรถโปรดักชั่นในแบบ mass-produce หรือผลิตรถที่ใช้เฟรมอลูมิเนียมจำนวนมาก หลังพวกเขาพบว่ามันให้ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม ซึ่งทีมวิศวะกรของพวกเขายืนยันว่ามันคือ the best performing frame นับจากนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจทยอยใช้โครงสร้างเฟรมมิเนียมกับรถรุ่นต่างๆที่จะผลิตออกมาสู่ตลาด พวกเขาก็พัฒนาเฟรมอลู่มิเนียมในแบบที่เรียกว่า twin-spar ออกมาและ รถในรุ่น V-Strom ก็ได้รับการสืบทอดมาด้วยเช่นกัน โดยในโมเดลล่าสุดอย่าง V-Strom 1050 นั้นก็ได้ใช้เฟรมแบบ twin-spar aluminium alloy frame ที่ชิ้นส่วนเฟรมอลูมิเนียมนั้นใช้กรรมวิธีการผลิตที่ผสมผสานกันระหว่างวิธีที่เรียกว่า aluminium cartings กับ การใช้ชิ้นส่วนอลูมิเนียมที่มาประกอบเป็นส่วนที่เรียกว่า extruded aluminium sections โดยโครงสร้างหลักของเฟรมที่เป็นแบบ castings นั้น จะให้ความแข็งแรง และในส่วนของ extruded aluminium นั้น จะช่วยให้โครงสร้างโดยรวมมีความเพรียวบางมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้โครงสร้างเฟรมนี้มีการให้ตัวที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
แม้ว่าในโดยรวมพื้นฐานของแชสซีส์ที่ใช้กับ V-strom1050 ใหม่นี้ จะมีส่วนให้ประสิทธิภาพต่างๆดีขึ้นในฐานะรถแอดเวนเจอร์ทัวริ่ง แต่ V-Strom1050DEนั้นวิศวะกรต้องการให้ คุณสมบัติของเวอร์ชั่น DE นั้น ยอดเยี่ยมทั้งด้าน performance และ control เพื่อให้สามารถขับขี่ได้ทั้งบนสภาพทางแบบ gravelและ flat dirt trails ใน V-Strom1050DE นั้น โครงสร้างแชสซีส์นั้นจะให้ค่ามิติที่แตกต่างกว่า คือ longer wheelbase , longer rake , more ground clearance และ wider handlebar grip ทั้งหมดช่วยให้เวอร์ชั่น DE มีความมั่นคงในการขับขี่ที่เพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพในการควบคุมการขับขี่ที่ดีขึ้น เมื่อขับขี่บนพื้นผิวที่เป้นหินกรวดทรายและภาพเส้นทางที่วิบาก นอกจากนี้ด้วยสิวอาร์มที่ยาวกว่าของ เวอร์ชั่น DE ซึ่งใช้ Aluminium swingarm ที่ระบุว่าเป็น new longer version เมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นธรรมดา แล้วมันสามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงในการขับขี่ในทางตรงได้มากกว่าเดิมเทียบเป้นเปอร์เซ็นต์ คือ มั่นคงขึ้นอีก 10% ซึ่งข้อมูลสเปคของ V-Strom 1050DE รวมทั้ง V-Strom105