ฉบับก่อนหน้านี้เราได้ให้ความกระจ่างในการปรับตั้งความแข็งของสปริงไปแล้ว ครั้งนี้มาถึงอีกหนึ่งฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่มักจะเป็นตัวสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก เรียกว่าหากโช้ครุ่นใดสามารถปรับการทำงานนี้ได้จะกลายเป็นการยกระดับขึ้นมาอีกขั้นทีเดียว นั่นคือการปรับรีบาวด์ ซึ่งมีอยู่ในโช้คอัพของ Racing Boy ในรุ่น SB-2 Series นั่นเองการปรับความแข็งของสปริงนั้นเป็นกลไกพื้นฐานที่ทำได้ไม่ยาก มองเห็นและเข้าใจถึงการทำงานได้จากภายนอกทำให้มันกลายเป็นการปรับพื้นฐานที่มีในโช้คทั่วไป แตกต่างกันคือจะเป็นการปรับแบบนับเป็นล็อค หรือปรับละเอียดแบบหมุนเกลียวเท่านั้น สำหรับโช้คอัพ Racing Boy ในรุ่น SB-2 Series นั้น นอกจากจะใช้การปรับความแข็งของสปริงอย่างละเอียดด้วยการขันเกลียวแล้ว ยังเพิ่มการปรับรีบาวด์มาให้ใช้งานกันอีกด้วย
S หนืดน้อย H หนืดมาก ปรับแสนง่ายด้วยมือเปล่า
ลูกบิดปรับรีบาวด์มักจะอยู่ใต้ขดลวดสปริง
ปรับสปริงเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ปรับรีบาวด์จะมีในโช้คอัพอีกระดับเท่านั้น
รีบาวด์คืออะไร
เมื่อเราเอ่ยถึงธรรมชาติของสปริงที่เมื่อถูกกดให้หดลงเท่าไรก็จะยืดตัวออกด้วยแรงที่เท่ากัน รีบาวด์คือตอนที่สปริงยืดตัวออกนั่นเอง การปรับรีบาวด์ก็หมายถึงการปรับให้สปริงนั้นยืดตัวออกช้าหรือเร็วตามที่เราต้องการ ส่วนมากมักจะนิยมปรับให้คืนตัวช้าลงซึ่งจะทำให้โช้คมีความนุ่มนวลมากขึ้น แม้ว่าจะยุบตัวเร็วแต่การคืนตัวที่ช้าคล้ายกับว่าสปริงนั้นมีความหนืดมารั้งเอาไว้ ทำให้การปรับรีบาวด์ถูกเรียกอีกอย่างว่าการปรับหนืดนั่นเอง
รีบาวด์ดีอย่างไร
หากไม่มีกลไกรีบาวด์เราคงต้องกระเด้งตัวลอยทุกครั้งหลังจากที่รถตกหลุมแน่ๆ ที่จริงในโช้คทุกตัวจะมีกลไกรีบาวด์ที่จะช่วยลดความเร็วในการยืดตัวของสปริง ซึ่งก็คือชุดลูกสูบน้ำมันที่ทำงานอยู่ในแกนกลางโช้คนั่นเองที่ทำให้เรายังนั่งสบายอยู่ได้ การปรับรีบาวด์ก็เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการขับขี่ของแต่ละคน สำหรับคนที่ขับขี่ช้าควรจะปรับน้อยๆ เพราะการปรับรีบาวด์มากเกินไปจะทำให้รู้สึกกระด้าง ตรงกันข้ามหากเป็นคนขับขี่ด้วยความเร็วการปรับรีบาวด์มากขึ้นจะช่วยให้รถทรงตัวได้มั่นคง ดังนั้นการเลือกใช้โช้คที่ปรับรีบาวด์ได้ ประกอบกับการปรับใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นผลดีที่จะช่วยให้รถเกาะถนนได้อย่างปลอดภัยที่สุดนั่นเอง
ปรับง่ายได้ด้วยมือเปล่า
ด้วยการทำงานที่ยุ่งยากของกลไกในห้องน้ำมันที่ซับซ้อนทำให้เราไม่สามารถเห็นการทำงานของระบบปรับความหนืดได้ แต่การปรับค่าการทำงานนั้นตรงกันข้าม ผู้ใช้งานสามารถปรับรีบาวด์นี้ได้ด้วยมือเปล่า โดย Racing Boy ได้ออกแบบให้เป็นลูกบิดหมุนเป็นคลิกที่ด้านล่างของสปริงโช้ค ทิศทางการปรับตามความหมายของอักษรย่อ H หมายถึง Hard คือการหน่วงมากให้คืนตัวช้า (หนืดมาก) ส่วนอีกด้านเป็น S หมายถึง Soft คือการหน่วงน้อยให้คืนตัวเร็ว (หนืดน้อย) ไม่ควรปรับครั้งละมากๆ เพียง 3-5 คลิ๊กก็เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนแล้วมีของดีต้องใช้ให้เป็น แล้วจะเห็นความคุ้มค่า ด้วยความปรารถนาดีจากเรซซิ่งบอย